วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การ จัดการความรู้ (Knowledge Management)


"ท่านคิดว่า KM หรือ Knowledge Management  มีผลต่อกลยุทธ์หรือกระบวนการสร้างกลยุทธ์ของหน่วยงาน หรือ องค์กร อย่างไรบ้าง?
การ จัดการความรู้ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายขององค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่
-      บรรลุเป้าหมายของงาน
-      บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
-      บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ดังนั้นการจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้เท่านั้นเองเราจึงควรมีการจัดการความรู้ที่ดี
ปัจจัยที่ทำให้ KM ประสบความสำเร็จในองค์กร

1. วัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนในองค์กร

คนในองค์กรต้องมีความเจตคติที่ดีในการแบ่งปันความรู้ และนำความรู้ที่มีอยู่มาเป็นฐานในการต่อยอดความรู้ของคนรุ่นใหม่ต่อไป  องค์กรเองต้องมีวัฒนธรรมภายในแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจ และให้เกียรติกัน  เคารพในสิทธิและความคิดของผู้ร่วมงานในทุกระดับแม้เป็นบุคลากรระดับล่างก็ตาม การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเรื่องแม้แต่สิ่งที่เป็นข้อผิดพลาดในอดีต

2. ผู้นำ และการสร้างกลยุทธ์

ผู้บริหารระดับสูงต้องมีความเชื่อในคุณค่าของคนและความรู้ที่มีในองค์กร เข้าใจในลักษณะของปัญหาและพันธะกิจขององค์กร ส่งเสริมและสนับสนุนความเป็นมืออาชีพในด้านต่างๆให้เกิดขึ้น ค้นหาและเชิดชูกระบวนการทำงานที่เป็นเลิศจากหน่วยงานภายใน  เป็นและทำอย่างไรให้คนในองค์กรอยากนำเรื่องที่ตนรู้ออกมาแบ่งปันโดยไม่หวาดระแวงว่าจะเสียผลประโยชน์  ถูกแอบอ้างผลงาน  ถูกกลั่นแกล้งเพราะอิจฉาตาร้อนต่างๆนานา  องค์กรที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ต้องสร้างอยู่บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ(Trust) และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน (Mutual respect) โดยกุญแจสำคัญที่จะไขประตูสู่โลกที่เปิดกว้างนี้คือผู้บริหารสูงสุดขององค์กรนั่นเอง

3. เทคโนโลยี

ความพร้อมของอุปกรณ์ทันสมัยของเทคโนโลยีที่สามารถสนับสนุนการทำงานและการเรียนรู้ของคนในองค์กรได้ การสร้างฐานข้อมูลและการจัดการระบบฐานข้อมูลตลอดจนวิธีการที่จะทำให้คนยอมใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นสื่อกลางในการรวบรวมและส่งต่อขององค์ความรู้ ที่สำคัญคือสร้างระบบการป้องกันไม่ให้คนนอกเข้ามาก่อกวนและทำความเสียหายแก่ระบบฐานข้อมูลภายในได้

4. การวัดผลและการนำไปใช้

จัดทำระบบการติดตามและวัดผลของการจัดการความรู้และประโยชน์จากการนำไปใช้ เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนให้คนในองค์กรมีความกระหายอยากเรียนรู้และอยากมีส่วนร่วมในการสร้างฐานความรู้ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

5. โครงสร้างพื้นฐาน

การวางระบบการบริหารจัดการ  การรวบรวมข้อมูล และการรายงานผลการดำเนินการต่างๆที่จะเอื้อให้แผนงานของการจัดการความรู้ประสพผลสำเร็จ

             ประโยชน์การจัดการความรู้ KM

1. เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร
2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคลากรเกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต
3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด
4. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นการ พัฒนาคน และพัฒนาองค์กร
5. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผลและน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
6. ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงาน
7. เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที
8. ความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่น
9. 
การพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการพัฒนาความสามารถขององค์กรในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่



วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

ส่งงานครั้งที่ 8


โครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่ ของนักศึกษา ITประจำปี 2555 
ระหว่างวันที่  21-23 มกราคม 2556
วัตถุประสงค์
-                   มีความเตรียมพร้อมในการทำโครงงานทางคอมพิวเตอร์
-                   เพื่อเปิดโลกทัศน์สำหรับโครงการใหม่ๆ
-                   เพื่อให้เราได้ทราบถึงโครงการทางคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยอื่นๆเป็นอย่างไรบ้าง
ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้
-         มีนักศึกษาเดินทางไปประมาณ 80 คน
-         คณะอาจารย์  4   คน
        ที่พักคือ บ้านพักรับรองที่เขื่อนอุบลรัตน์
สถานที่ที่ไป ได้แก่
1 ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านภู   จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับคนในชุมชนโดยมีผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์คอยดูแลให้ความรู้กับชาวบ้านโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสฯ 
 อาชีพหลักของชาวบ้านภู คือ การทำนา รองลงมาคือ รับราชการ มีการทำสวน ทำไร่  เลี้ยงสัตว์  ค้าขาย และงานหัตถกรรม เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว และใช้แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตเป็นศูนย์ชุมชนต้นแบบ มีการจัดแหล่งเรียนรู้ชุมชนจำนวน 5 ฐาน ได้แก่
-         ฐานลดรายจ่าย
-         ฐานเรียนรู้และรักษาวัฒนธรรม
-         ฐานเรียนรู้สิ่งที่ควรรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกชุมชน
-         ฐานการจัดการความรู้
-         ฐานการประชาสัมพันธ์ศูนย์เรียนรู้ชุมชน
2  ศูนย์ประสานงานเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อดูโครงการที่เข้ารอบคัดเลือกในการประกวดซอฟแวร์ NSC
ประเภทที่ซอฟแวร์ส่งเข้าประกวด
-         โปรแกรมเพื่อความบันเทิง 
-         โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
-         โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการและผู้สูงอายุ 
-         โปรแกรมเพื่องานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-         โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับลินุกซ์
-         โปรแกรมเพื่อความบันเทิง
-         โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
-         โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน
-         Environment App Contest
-         Mobile Application
-         สื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์



3  เขื่อนอุบลรัตน์ เพื่อรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ ก ฟ ผ. โดยคุณสรพงษ์ จันทะภา ช่างระดับ    จากนั้นไปดูการทำงานภายในเขื่อนอุบลรัตน์


4 พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์    เป็นพิพิธภัณฑ์ทางธรรมชาติวิทยา ที่มีการจัดแสดงซากกระดูกไดโนเสาร์ และแสดงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในมุมมองต่างๆ ทั้งเชิงวิชาการ การอนุรักษ์ รวมไปถึงความสัมพันธ์ต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์มีทั้งหมด 8 โซน คือ
โซน 1 จักวาลและโลก
-  โซน 2 เมื่อสิ่งมีชีวิตแรกปรากฏ
-  โซน 3 มหายุคพาลีโอโซอิก
โซน 4 มหายุคมีโซโซอิค หรือ มหายุคแห่งสัตว์เลื้อยคลานและไดโนเสาร์
โซน 5 วิถีชีวิตของไดโนเสาร์
โซน  6 คืนชีวิตให้ไดโนเสาร์
โซน 7 มหายุคซีโนโซอิก หรือมหายุคแห่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
โซน 8 เรื่องของมนุษย์

สำหรับการเดินทางไปดูงานครั้งนี้ทำให้เราได้ประสบการณ์หลายๆอย่างที่เราไม่ได้จากที่ไหนมาก่อน ร่วมไปถึงความสามัคคีและสัมพันธ์อันดีจากเพื่อนๆ ที่บางที่เราไม่ค่อยได้คุยกันเท่าไหร่ แต่เมื่อเราได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ได้อยู่ด้วยกัน ทำให้เรารู้ว่ามิตรภาพเป็นสิ่งที่สำคัญมาก สุดท้ายนี้ก็ต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่คอยช่วยเหลือให้เราผ่านงานวันนั้นมาได้


วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

Green ocean strategy


Green ocean strategy คือ กลยุทธ์ที่ใช้สร้างและผนวกคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เน้นดำรงความยั่งยืนทางคุณค่า (Sustaining Value) ด้วยการแข่งขันกับตนเอง

Green Ocean Strategy กับ อาเซียน

กลยุทธ์สู่ความยั่งยืนแบบน่านน้ำสีเขียว เพื่อปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ในทุกๆ กิจกรรม มิใช่การดำเนินเพียงกิจกรรมเพื่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกกระบวนการหรือแยกต่างหากจากการดำเนินธุรกิจ การพัฒนากลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว จึงคำนึงถึงคุณค่าทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่ถูกสร้างขึ้นในสายคุณค่า ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาสู่ความยั่งยืน

กลยุทธ์ความสำเร็จของ "พญ.นลินี ไพบูลย์"


“กิฟฟารีน” ภายใต้การบริหารของ “พ.ญ.นลินี ไพบูลย์” ด้วยแนวคิด และวิธีการที่เต็มไปด้วยกลยุทธ์ จนวันนี้แบรนด์ “กิฟฟารีน” สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่ม Mass สร้างยอดขายเพิ่มขึ้น 10 เท่าในช่วง 11 ปีที่ผ่านมา กลายเป็นเครือข่ายธุรกิจขายตรงแบรนด์ไทยที่มาแรง สามารถชิงส่วนแบ่งจากแบรนด์ต่างชาติได้อย่างน่าจับตามอง ชื่อของ “พ.ญ.นลินี” จึงกลายเป็นแบรนด์ของผู้หญิงเก่ง ที่ไม่มีนักธุรกิจคนไหนที่ไม่เคยได้ยินชื่อเสียงของเธอ 

ชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งที่วันหนึ่งต้องหย่าร้าง และเลี้ยงลูกเพียงลำพัง อาจเป็นจุดเปลี่ยนให้ผู้หญิงคนนั้นหมดหวัง แต่สำหรับ “พ.ญ.นลินี ไพบูลย์” ประธานกรรมการ บริษัทกิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด ตรงกันข้าม จุดเปลี่ยนของชีวิตครั้งนั้นทำให้พลังของ “พ.ญ นลินี” ล้นเหลือกว่าที่หลายคนคิด 


เข้าถึงใจลูกค้า 

“พ.ญนลินี” รู้ว่าคุณสมบัติความเป็นแพทย์ และประสบการณ์จากการเปิดคลินิกรักษาโรคทั่วไป และผิวหนัง บวกกับประสบการณ์ธุรกิจขายตรงในแบรนด์ “สุพรีเดอร์ม” เมื่อครั้งยังไม่ได้หย่าจากสามี เพียงพอที่จะเป็นพื้นฐานให้ “หมอนลินี” หรือ “หมอต้อย” รู้ความต้องการลูกค้ากลุ่มนี้อยู่บ้าง แต่เพราะไม่เคยรับผิดชอบหรือทำธุรกิจด้วยตัวเอง เส้นทางนักธุรกิจของพ.ญ.นลินี จึงดูเหมือนว่าจะเริ่มต้นจากศูนย์ ทำให้ยิ่งต้องค้นหาความรู้ทั้งจากตำรา และการเข้าชั้นเรียนเพื่อเสริมความรู้ด้านธุรกิจให้แข็งแรงยิ่งขึ้น 

แม้ในช่วงแรกจะมีเสียงคัดค้านจากคนรอบข้างอยู่บ้าง เพราะภาวะเศรษฐกิจไทยที่เริ่มถดถอยก่อนปี 2540 ซึ่งเป็นการยากที่แบรนด์ใหม่จะแจ้งเกิดในตลาด แต่เสียงความมุ่งมั่นของพ.ญ.นลินีดังกว่า 

ทุกคนต้องการ “ความสวยงาม” และ “ความมั่นคง” ของชีวิต คือคำตอบที่เข้าถึงความรู้สึกคนทุกคนมากที่สุด จากจุดนี้จึงต่อยอดให้ “กิฟฟารีน” แบรนด์ขายตรงที่ “พ.ญ.นลินี” สร้างขึ้นใหม่เมื่อปี 2538 ยืนได้อย่างแข็งแรง โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจไทยในปี 2540 พังครืนจากค่าเงินบาทลอยตัว และคนว่างงานกันมากขึ้น ทำให้ธุรกิจขายตรงเป็นทางออกของบางคนในช่วงนั้น 

หาจุดต่างแจ้งเกิด 

ด้วยความที่กิฟฟารีนเป็นสินค้าแบรนด์ไทย ขณะที่มีสินค้าแบบเดียวกันเป็นแบรนด์จากต่างประเทศทำตลาดอยู่มาก สนามที่พ.ญ.นลินีต้องลงแข่งขันจึงไม่ธรรมดา โจทย์ที่ต้องหาคำตอบ คือการหาจุดต่าง 

การใช้จุดต่าง (Differentiation) ในการวาง Positioning ของสินค้า เป็นสูตรที่หลายๆ สินค้าและบริการนำมาใช้เสมอ “กิฟฟารีน” ก็เช่นกันที่ต้องหาจุดต่าง และเนื่องจากเป็นธุรกิจขายตรง จุดต่างจึงต้องมีใน 2 ส่วน คือผลิตภัณฑ์ที่เสนอต่อลูกค้า และระบบบริหารเครือข่าย 

พ.ญ.นลินีบอกว่า “ความเป็นหมอสอนไว้ว่า ไม่ให้เชื่ออะไรที่ไม่มีเหตุผล ดังนั้นเมื่อต้องเริ่มต้นบอกกับลูกค้า กิฟฟารีนเลือกวิธีชี้แจงส่วนผสมและวัตถุดิบที่ใช้ในผลิตภัณฑ์กิฟฟารีน ให้ความรู้แก่ผู้ใช้ ทำให้ไม่มีข้อโต้แย้งได้ ทำให้ผลิตภัณฑ์ของกิฟฟารีนต่างจากแบรนด์อื่น” 

ส่วนความต่างที่ให้กับสมาชิกเครือข่าย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขยายจำนวนมาสมาชิกที่ถือเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า คือ นอกจากให้ส่วนแบ่งในเปอร์เซ็นต์ที่สูงแล้ว ยังให้ความรู้สึกแก่สมาชิกว่าเป็นเสมือนผู้ถือหุ้นบริษัทที่สามารถรับรู้รายจ่าย รายได้ของบริษัทอีกด้วย 

สูตรบริหาร 

หากถามถึงหลักการทำงานแล้ว พ.ญ.นลินีบอกว่ามี 2 หลักใหญ่ หลักการแรกคือความระมัดระวัง เมื่อมีข้อผิดพลาด ให้เร่งหาสาเหตุโดยเร็วที่สุด เพื่อแก้ปัญหาให้ถูกจุด 

“เมื่อเราไม่ได้มีพื้นฐานทางธุรกิจมาก่อน เวลาทำก็ต้องบริหารจัดการงานด้วยความระมัดระวัง เพราะเราไม่มีประสบการณ์ เราเริ่มกิจการจากกิจการเล็กๆ เริ่มต้นจากศูนย์ จึงต้องค่อยๆ เรียนรู้ ค่อยๆ เติบโต เรียนรู้ปัญหา ข้อผิดพลาด เรียกได้ว่าเติบโตจากการเรียนผิดเรียนถูก ข้อบกพร่อง Trial and Error และต้องตรวจสอบตัวเองตลอดเวลา เมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นต้องรีบแก้ไข หาสาเหตุให้เร็วที่สุด” 

หลักการที่สองพ.ญ.นลินีใช้หลักจิตวิทยา ในการบริหารบุคลากร และเครือข่ายของกิฟฟารีน ด้วยหลักการคิดที่ว่าทำให้คนที่ทำงานด้วยมีความสุข เห็นใจซึ่งกันและกัน คิดถึงใจคนที่มาอยู่ด้วยกัน ให้เขาเติบโต และมีความเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกัน เติบโตไปด้วยกัน ไม่ Centralize ที่ตัวเอง ต้องรู้ว่าคนทำงานกับเรา เขาต้องการอะไรและรับฟังความคิดเห็นของเขา 

ส่วนจะมีบ้างหรือไม่สำหรับพ.ญ.นลินีที่เกิดความรู้สึกท้อแท้ คำตอบโดยอัตโนมัติจากพ.ญ.นลินี คือไม่เคยท้อ ปัญหาที่เข้ามาถือเป็นความท้าทาย อุปสรรคที่เข้ามาต้องรีบคิดหาสาเหตุและแก้ไขให้ได้ ส่วนกำลังใจที่สำคัญคือมาจากครอบครัว และความที่ต้องรับผิดชอบต่อคนจำนวนมาก

“อย่ากดดัน อย่ายัดเยียด ต้องมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้คน กับคนรอบข้าง เราไม่ได้สอนให้คลั่งเหมือนลัทธิ จนคนใกล้ตัวกลัวและหนีหายกันหมด” 
คือหลักในการทำธุรกิจของกิฟฟารีนที่เธอพร่ำบอกกับบรรดานักธุรกิจกิฟฟารีนมาตั้งแต่เริ่มต้น เพราะภาพลักษณ์ของแบรนด์เครือข่ายขายตรงในไทย มีทั้งน้ำดีและน้ำเน่า นอกเหนือจากการฉีกตัวเองให้ต่างด้วยธรรมาภิบาลโปร่งใสทุกขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ ทำให้ผลสำรวจจากสมาคมขายตรงแห่งประเทศไทยล่าสุด พบว่า กิฟฟารีนเป็นแบรนด์ที่มีความเป็นมิตร เข้าถึงได้ง่าย รู้สึกสบายใจและไม่รู้สึกติดลบและรู้สึกค่อนไปทางบวกกับแบรนด์
พญ.นลินี พยายามสกัดจุดอ่อนของขายตรงอื่นๆ และค้าปลีกทั่วไป เช่น เรื่องราคาสินค้า ที่ตั้งกำไรสุทธิไว้เพียง 5% ภาพลักษณ์ของกิฟฟารีนจึงไม่ใช่สินค้าราคาสูงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงได้ง่ายด้วย Affordable Price และจะทำให้ได้ High Volume ตามมา และที่สำคัญที่สุดคือจะได้จำนวน Repeat Customer ในอัตราที่สูงตามมา

กิฟฟารีนกำลังมองไปที่ 4 กลุ่ม คือ นักธุรกิจ คนทำงานวัย 30 ปีขึ้นไป นักศึกษา และวัยเริ่มทำงาน ซึ่งมี Insight เหมือนกันคือ แสวงหาความมั่นคงในชีวิต แม้ส่วนใหญ่กว่า 80% จะทำงานประจำอยู่แล้ว

เป้าหมายของคนทั่วไปในการเป็น ”เจ้าของ” มีความเป็นไปได้ เมื่อเป็นการสื่อสารที่มาจากพญ.นลินี ที่เปิดเผยเรื่องราวชีวิตส่วนตัว ทั้งเรื่องของครอบครัว และเส้นทางอาชีพจากผู้ที่เคยเป็นหมอ แต่สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้

“ชีวิตเรามีจุดเปลี่ยนจากแพทย์มาสู่นักธุรกิจอย่างไร เพราะเราต้องการสร้างคนไทยให้เป็นนักธุรกิจเป็นผู้ประกอบการ เพราะครอบครัวคนไทยแท้มักจะไม่ได้สอนให้ลูกทำธุรกิจเป็น”